พื้น ESD คืออะไร?

พื้น ESD คืออะไร?

พื้น ESD คือระบบที่ทำหน้าที่นำไฟฟ้าสถิตที่เรียกว่า ไฟฟ้าที่ร่างกายสร้าง (BVG) จากการเคลื่อนที่สัมผัสพื้นผิววัสดุซึ่งสะสมอยู่ในร่างกายไปสู่หลักดิน

โดยทั่วไปจะนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม จำพวก โรงงานอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ (EV car) โรงพิมพ์ และ สถานที่เก็บสารเคมีไวไฟ เพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดไฟฟ้าสถิต 

จากความจำเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อควบคุมกระแสไฟฟ้าลงดินอย่างปลอดภัยต่อตัวคน มีการจัดทำมาตรฐาน ESD Standard ขึ้น เพื่อกำหนด ค่าความต้านทานผิวของพื้น ESD (Surface resistance) มีจุดประสงค์เพื่อกระจายประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นให้รวดเร็วที่สุด ป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตถูกปล่อยสู่บรรยากาศ แต่ต้องมีความปลอดภัยต่อตัวบุคคลที่อยู่ในระบบด้วย

เพราะอะไรระบบพื้น ESD จึงตอบโจทย์?
พื้น ESD ทำหน้าที่นำประจุไฟฟ้าลงสู่ดิน ตามมาตรฐาน ESD ทั่วโลกระบุว่า มีค่าความต้านทานพื้นผิว (surface resistance) ของพื้น ESD ต้องมีค่าต่ำกว่า 1x10^9 ohm 

หากเปรียบเทียบกับพื้นทั่วไป อาทิเช่น พื้น Epoxy แบบธรรมดา, พื้นกระเบื้องยางทั่วไป ค่าความต้านทานพื้นผิวของพื้นแต่ละชนิด จะมีค่าความต้านทานที่แตกต่างออกไป พื้นกระเบื้องยางทั่วไป และ พื้น Epoxy ทั่วไป จะมีความเป็นฉนวน (ค่าความต้านทานพื้นผิว มากกว่า 1x10^9 ohm) เนื่องจากผลิตมาจาก วัสดุจำพวก โพลิเมอร์ (PVC, Resin)

ความสามารถในการถ่ายเทประจุลงดินจะต่ำ เมื่อค่าความต้านทานพื้นผิวสูง เมื่อใช้งาน พื้นที่มีความต้านทานสูง ในพื้นที่ ที่ต้องการป้องกันไฟฟ้าสถิต จะทำให้โอกาสเกิดไฟฟ้าสถิต สูง นำไปสู่ ความเสียหายที่เกิดจากไฟฟ้าสถิต เช่น ความเสียหายของชิ้นงานในพื้นที่นั้นๆ หรือ โอกาสการเกิดประกายไฟในพื้นที่ เก็บสารเคมีไวไฟ เป็นต้น

พื้น ESD และ พื้นกันไฟฟ้าสถิต ต่างกันอย่างไร
โดยทั่วไป ในท้องตลาด มีการเรียกพื้นป้องกันไฟฟ้าสถิต หลายชื่อ ได้แก่ พื้น ESD, พื้น Anti-static, พื้นกันไฟฟ้าสถิต ซึ่งหมายถึงสิ่งเดียวกัน คือ พื้นที่สามารถนำประจุไฟฟ้าลงดินได้อย่างปลอดภัย และมีค่าความต้านทาน ต่ำกว่า 1x10^9 ohm ตามมาตรฐาน ESD

และนอกจากนี้ มาตรฐาน ESD ทั่วโลก ยังแบ่งแยกย่อย พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิต (พื้น ESD) ออกเป็น 2 แบบหลัก คือ

Conductive Floor: คือพื้น ESD ที่ ค่าความต้านทานผิว ต่ำกว่า 10^6 ohm

Dissipative Floor: คือพื้น ESD ที่ ค่าความต้านทานผิวอยู่ระหว่าง 10^6 -10^9 ohm

ประเภทพื้น ESD
ตัวเลือกการติดตั้ง พื้น ESD มีหลายแบบ แต่ละแบบมีราคาและคุณสมบัติการป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ และ ความคงทนต่อการใช้งานแตกต่างกันออกไป ได้แก่:

พื้นกระเบื้องยางไวนิลแบบนำไฟฟ้า (ESD PVC floor tile)
เหมาะสำหรับการใช้งานไม่หนักมาก จำพวกโรงงานอิเล็กทรอนิกส์

·  พื้น ESD แบบม้วน (ESD PVC roll)
คล้ายกระเบื้องยาง ESD แบบแผ่น แต่รอยต่อจะน้อยกว่า

• แผ่นยาง ESD (ESD Floor mat)
แผ่นยางรองเฉพาะจุดที่ต้องการความคุม ESD

• พื้นป้องกันไฟฟ้าสถิตชนิด อิพ๊อกซี่ (ESD Epoxy)
เหมาะสำหรับ พื้นที่ใช้งานหนัก เช่น โกดังเก็บสินค้า หรือ มีใช้งาน Folklift

· ผลิตภัณฑ์สำหรับเคลือบหน้าพื้น ESD (ESD Wax)
สำหรับเคลือบผิวหน้าพื้นที่เป็น ESD อยู่แล้ว เพื่อรักษาค่าความความต้านทานพื้นผิว และรักษาความสะอาด

*ไม่แนะนำให้เคลือบบนพื้นผิวที่ไม่ใช่ ESD เนื่องจาก ค่าความต้านทานจะอยู่ไม่นาน เพราะเป็นการเคลือบผิวบางๆ

สนใจสอบถามเพิ่มเติมเรายินดีให้คำปรึกษา
Inbox :
https://www.facebook.com/esdtechno/
Line@ :
https://line.me/R/ti/p/~pearsaru
Tel :
+66815515435

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ESD TECHNOLOGY | ผู้นำด้านการติดตั้งพื้น Epoxy พื้น ESD  พื้นโรงงานอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ

ESD technology Co., Ltd​

30/89 Moo 17 Bangna-Trad Rd.,
Bangplee-yai, Bangplee,
Samutprakarn, 10540​

© ESD technology Co., Ltd.​ All right reserved

โทรหาเราคลิก !!

+66815515435 ประสิทธิ์ , +66867756171 แพร

FOLLOW US