ในปัจจุบัน มีวัสดุเคลือบผิวพื้น ให้เลือกสรรมากมาย แต่ละวัสดุมีจุดเด่นและข้อด้อย แตกต่างกันไป ดังนั้นในการเลือกวัสดุ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน และ ปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่าง ดังนี้
• ลักษณะการใช้งานพื้นที่ (เช่น น้ำหนักของสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า มีการใช้งานโฟล์คลิฟท์ในพื้นที่ เป็นต้น)
• มีการใช้สารเคมีหรือไม่
• สภาพแวดล้อมของพื้นที่ติดตั้ง
o ภายนอก/ภายในอาคาร
o โดดแดดจัด หรือไม่
o มี เปียกน้ำ หรือ ล้างทำความสะอาด บ่อยหรือไม่
o อุณหภูมิ ขณะใช้งานพื้นที่
และปัจจัยอื่น ๆ รวมในการพิจารณาสำหรับการติดตั้งวัสดุเคลือบผิวพื้น
เหมาะสมสำหรับพื้นที่เก็บสินค้า หรือพื้นที่ ที่ต้องการป้องกันฝุ่น
ข้อเสีย เมื่อใช้งานไปแล้ว ความเงาจะลดลง และ ฝุ่นจากคอนกรีตอาจเกิดขึ้นได้ สามารถแก้ไขโดยการปั่นเงาเคลือบน้ำยาใหม่อีกครั้ง
พื้นคอนกรีตขัดมัน (Crystal Floor, Polishing concrete)
เหมาะสำหรับพื้นนอกและในอาคาร ที่ต้องการความสวยงาม สามารถโดดแดดได้
ข้อเสีย คือ หากใช้งานไป ความเงา และสีที่เคลือบจะจางลง สามารถ ทำการเคลือบสีและ ลงน้ำยาเคลือบผิวใหม่ได้
พื้นคอนกรีตย้อมสีและเคลือบเงา
เหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการความสวยงาม ราคาย่อมเยา และสามารถทนแดด ทนฝนได้ดี
ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่ใช้งานหนักเกิน 1 ตัน ขึ้นไป
สีทาภายนอกชนิด Acrylic rubber coating
เหมาะสำหรับงานพื้นในอาคาร ราคาย่อมเยา ทนทานต่อการใช้งานทั่วไป
ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่โดดแดด และ ใช้งานหนักเกิน 1 ตัน ขึ้นไป
อีพ๊อกซี่ แบบกลิ้ง (Epoxy coating)
เหมาะสำหรับงานประเภทใช้งานหนักทั่วไปในโรงงาน คลังสินค้า และ โรงจอดรถ เนื่องจากรองรับน้ำหนักได้ดี มีความคงทน
ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่โดนแดด และ ไม่แนะนำให้ใช้กับพื้นที่ ที่ต้องเปียกและแช่น้ำตลอดเวลา
อีพ๊อกซี่ เซฟ-เลเวลลิ่ง (Epoxy self-leveling)
เหมาะสำหรับงานพื้นในและนอกอาคาร ราคาย่อยเยา ทนทานต่อการใช้งานทั่วไป และ ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าพื้นอิพ๊อกซี่
ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับพื้นที่ ใช้งานหนักเกิน 1 ตัน ขึ้นไป และหากใช้สารเคมี มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ควรสอบถามผู้ติดตั้งเพิ่มเติม เกี่ยวกับการติดตั้งพื้นให้เหมาะกับการใช้งาน
พียู โค้ตติ้ง (PU coating)
เหมาะสำหรับงานพื้นในอาคาร ทนทานต่อการใช้งาน และ ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าพื้นอิพ๊อกซี่ เหมาะสำหรับโรงงานผลิต ยา อาหาร และ พื้นที่ ที่มีการเปียกน้ำ หรือ แช่น้ำ เนื่องจาก พื้นชนิดนี้ สามารถ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
ข้อเสีย ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่โดนแดด
พียู คอนกรีต (PU concrete)